ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจติดตั้งกล้องวงจรปิด

Last updated: 17 พ.ค. 2562  |  2307 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจติดตั้งกล้องวงจรปิด

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจติดตั้งกล้องวงจรปิด

                ก่อนการติดสินใจติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิดว่าเหมาะสมกับพื้นที่และเป็นที่พึงพอใจในผลลัพธ์หรือไม่ เพราะในปัจจุบันกล้องวงจรปิดมีหลากหลายแบรนด์ หลายระบบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

                คำถามที่ควรถามก่อนเลือกซื้อกล้องวงจรปิด

ต้องการกล้องวงจรปิดระบบใด ?

                กล้องวงจรปิดปัจจุบันมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Analog Camera และ IP Camera


Analog Camera

กล้องวงปิดแบบ Analog เป็นกล้องที่ใช้สายสัญญาณชนิด โคแอคเชียล หรือ ตระกูล RG มาเป็นอุปกรณ์นำสัญญาณ ข้อจำกัดที่พบเช่น สายสัญญาณถูกคลื่นรบกวน ทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัด

                ข้อดี

                   ต้นทุน: ระบบอนาล็อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP

                   ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบใหญ่ มีอินฟราเรดติดตั้งมาพร้อมกับกล้อง ทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                   ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล็อกมีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถเลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
                   ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามาก จนแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงสุดท้ายของเทคโนโลยีของระบบอนาล็อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ทำให้ปัญหาต่างๆของระบบอนาล็อกเกิดขึ้นน้อยมาก

                 ข้อเสีย

                   function : ระบบอนาล็อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนาล็อกในระบบราคาแพงเท่านั้น
                   ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้

                   ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญาณในระยะไกลๆได้

IP Camera

                กล้องวงปิดแบบ IP เป็นกล้องที่ต้องตั้งค่า IP ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อกำหนดตัวตนในการแสดงภาพ และต้องอาศัยสายชนิด LAN หรือ CAT5 มาเป็นตัวต่อเชื่อมต่อ หรือบางรุ่นอาจใช้เป็นแบบไร้สายได้ ระบบนี้มีราคาแพงกว่าระบบแรก และต้องอาศัยความรู้มากกว่าในการเซ็ตระบบ

                ข้อดี
                   Wireless : สนับสนุนการทำงานผ่านระบบเครือข่ายไร้สายมากกว่า Analog
                   ระบบเครือข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
                   เพิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ติดข้อจำกัดของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
                   ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ "เต็มที่" ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไปแต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
                   ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบอนาล็อกไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p
                   POE : บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก
                   ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องทำงานบนระบบ digital สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server และ hacker ไม่สามารถ "ดัก"เอาข้อมูลระหว่างทางได้

                ข้อเสีย
                   การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Bandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
                   ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบอนาล็อก ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
                   ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตรฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันคุยกันได้ พุดให้เข้าใจง่ายๆคือ "ข้ามยี่ห้อไม่ได้" นั่นเอง

 

ต้องการกล้องทรงใด (Housing) ?

                ปัจจุบันกล้องวงจรปิดมีหลากหลายรูปทรงและหลายระบบ แต่ละรูปทรงและแต่ละระบบก็มีความเหมาะสมในแต่ละสถานที่ต่างกัน แบ่งเป็น 6 ประเภท

1. กล้องวงจรปิดมาตรฐาน ( Standard Camera ) : ใช้ในการติดตั้งได้ในทุกๆสถานที่ ใช้สำหรับการป้องกัน อาชญากรรมและใช้การตรวจสอบดูเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งกล้องวงจรปิดชนิดนี้ มีราคาไม่แพง ขึ้นอยู่รุ่นและความคมชัดของกล้อง และ กล้องวงจรปิดประเภทนี้ยังติดตั้งได้ง่าย และ ค่าบำรุงรักษาต่ำ และ ยังมีอุปกรณ์เสริมมากมายที่ใช้กับกล้องวงจรปิดชนิดนี้ เช่น กล่องครอบกล้องวงจรปิด แบบในอาคาร Housing Indoor : เป็นกล่องครอบกล้องวงจรปิดแบบใช้ภายในอาคาร กันฝุ่น เหมาะกับการใช้รักษาความปลอดภัยในที่ร่ม และ ในที่ๆมีฝุ่นละออง ส่วนถ้าเป็นภายในห้องแอร์ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้เพราะ มีฝุ่นน้อย สถานที่ๆนิยมใช้งานได้แก่ โรงเรียน, โรงงาน , สำนักงาน, คอนโด ,โรงแรม อาคารต่างๆ ฯลฯ กล่องครอบกล้องวงจรปิด แบบใช้นอกอาคาร Housing Outdoor : กล่องครอบกล้องวงจรปิดแบบใช้ภายนอกอาคาร กันน้ำ กันแดด กันฝุ่น เหมาะกับการใช้รักษาความปลอดภัยในที่กลางแจ้ง และ ในที่ๆโดนแสงแดด ตัวกล่องครอบกล้องวงจรปิดรุ่นนี้ จะมีความแข็งแรงและทนทานสูง

  เหมาะกับใช้งานในสถานที่ต่างๆ เช่น ลานจอดรถ บนถนน บนเสาไฟ โรงเรียน, โรงงาน , สำนักงาน, คอนโด ,โรงแรม อาคารต่างๆ ฯลฯ

 

2.กล้องวงจรปิดแบบอินฟราเรด  (Infrared  Camera) : เป็นกล้องที่จับภาพในที่มืดสนิทได้  ทำจากวัสดุทนทาน  สามารถนำไปติดภายนอกอาคารได้  กันน้ำได้  การเลือกกล้องวงจรปิดอินฟราเรดนั้นควรเลือกตามระยะของอินฟราเรด  อย่างเช่น  กล้องที่มีระยะอินฟราเรด  10  เมตร  20  เมตร  30  เมตร  หรือระยะอื่นๆ  ที่เราจำเป็นต้องใช้

สำหรับการนำไปใช้งาน  ให้เลือกตามลักษณะพื้นที่  หากต้องการติดภายนอกอาคาร  ควรเลือกใช่ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศและน้ำได้ดี  โดยอาจสอบถามจากทางผู้จำหน่ายหรือดูจากคุณสมบัติของตัวกล้อง  สำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มให้ระยะการมองเห็นมีมากขึ้นคือ  การติดตั้งชุดอินฟราเรดส่องสว่างเพิ่ม  หากมีกล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน  Convention  อยู่แล้ว  ต้องการติดตั้งชุดอินฟราเรด  ก็สามารถทำได้  แต่คุณสมบัติของกล้องวงจรปิดที่ใช้ต้องรองรับ  Infrared  ด้วย  จึงจะสามารถใช้งานได้กล้องวงจรปิดอินฟาเรท ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนใช้สำหรับรักษาความปลอดภัยพื้นที่สูงเฝ้าระวังแจ้งเตือนที่ต้องเกิดขึ้นตลอดคืน ในเวลากลางวันตัวกล้องจะแสงภาพเป็นภาพสี ส่วนในเวลากลางคืนตัวกล้องวงจรปิดจะเปลี่ยนไปเป็นโหมดภาพขาว-ดำ อัตโนมัติ ด้านหน้าตัวกล้องวงจรปิดรุ่นนี้จะมีหลอด LED อินฟราเรดที่จะส่งแสงสว่างอัตโนมัติในตอนกลางคืน

ตัวกล้องรุ่งนี้เหมาะกับการใช้งานใน สถานที่ๆค่อนข้างมืด ถึงมืดสนิท เช่น ด้านหลังอาคารสำนักงาน ลาดจอดรถ ภายในห้องเก็บของ ห้องสต๊อกสินค้า หรือ ตามซอกกำแพง ต่างๆ เป็นต้น

 

3.กล้องวงจรปิดแบบโดม  (Dome  Camera) : มีรูปร่างเล็ก  กะทัดรัด  รูปลักษณ์ครึ่งวงกลมคล้ายโดม  เป็นกล้องที่ติดสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความสวยงาม  เมื่อติดตั้งแล้วดูเรียบร้อย  ไม่สะดุดตา  เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีแสงสว่างตลอดเวลา  เช่นเดียวกับกล้องมาตรฐาน  จุดเด่นของกล้องคือ  สามารถหมุนปรับมุมกล้องได้รอบตัว  ตลอด  360  องศา  นิยมนำมาติดตั้งภายในอาคาร  เนื่องจากรูปลักษณะของตัวกล้องมีความสวยงาม  ดูไม่สะดุดตามากนัก  มีให้เลือกหลากหลาย  เช่น  แบบปกติ  แบบมองย้อนแสง  แบบใช้ในที่มีแสงสว่างน้อยได้ดี  หรือแบบสามารถมองเห็นในที่มืดได้  ซึ่งอย่างหลังจะเป็นกล้องที่มี  Infrared  ติดตั้งภายในตัวกล้องวงจรปิด ล้องวงจรปิดแบบโดม ถูกออกแบบมาให้มีความกะทัดรัด รูปทรงโดม ครึ่งวงกลม มีความสวยงาม เหมาะกับการติดตั้งภายในอาคารออฟฟิตสำนักงานต่างๆ กล้องรุ่นนี้นิยมติดตั้งบนฝ้าเพดาน เป็นหลักไม่ กับการติดตั้งตามแนวกำแพง และ ไม่เหมาะกับการใช้ภายนอกอาคาร เพราะตัวกล้องวงจรปิดรุ่นนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้กันน้ำ เมื่อติดตั้งกล้องวงจรปิดแบบโดมจะทำให้ไม่มีใครสังเกต เพราะขนาดที่กะทัดรัดกลมกลืนกลับฝ้าเพดาน

  สถานที่ๆนิยมใช้งาน คือ โรงแรม คอนโด อาคารสำนักงาน ธนาคาร ต่างๆ เป็นต้น

 

 4.กล้องกระบอก (Bullet Camera) หรือกล้องภายนอก : รูปทรงดูแข็งแรง สามารถติดตั้งภายนอกได้โดยตรง ด้วยคุณสมบัติ กันน้ำ,กันฝุ่น จึงทำให้สามารถติดตั้งได้ในทุกที่ เช่น ในโรงงาน หน้าบ้าน บริเวณถนน ฯลฯ กล้องชนิดนี้สามารถดูภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน (Day/Night) จุดเด่นของกล้องชนิดนี้คือกันน้ำ กันฝน ทนความร้อน และสามารถดูภาพได้แม้ในยามไม่มีแสง หากแต่เมื่อยามกล้องปรับเข้าโหมดกลางคืนแล้วจะมองเห็นภาพเป็นขาวดำซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไปของระบบ Infrared กล้องชนิดนี้บางรุ่นสามารถมองเห็นในที่มืดได้ไกลถึง 50 เมตร (ตามระยะของ Infrared) ซึ่งปัจจุบันกล้องชนิดนี้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติอันสุดยอดของมัน สามารถกันน้ำได้โดยที่ไม่ต้องใส่ Housing (กล่องกันน้ำเข้าตัวกล้อง) ทำให้ประหยัดต้นทุนในการติดตั้ง

เหมาะกับงานภายนอกอาคารที่ต้องการความคงทนแข็งแรง เช่น ลานจอดรถ เป็นต้น

 

 5.กล้องวงจรปิดแบบ Speed  Dome  Camera : มีความสามารถในการหมุนรอบตัวเองได้  (Pan  /  Tilt  /  Zoom)  ทั้งก้ม  เงย  หรือซูมภาพ  มีทั้งที่เป็นแบบติดตั้งภายนอกอาคาร  และติดตั้งภายในอาคาร  เหมาะสำหรับติดตั้งเพื่อตรวจตราบริเวณโดยรอบของพื้นที่  การสั่งการหรือควบคุมกล้อง  Speed  Dome  ต้องสั่งโดยเครื่องบันทึก  หรือสั่งจากคีย์บอร์ดควบคุม  สามารถติดตั้งได้ดีทั้งในอาคารและนอกอาคาร  โดยส่วนใหญ่มักติดไว้ด้านนอกอาคารระดับสูงจากพื้นดินเพื่อเพิ่มระยะการมองเห็นที่ดีขึ้น  การติดตั้งกล้องวงจรปิดแบบสปีดโดมภายนอกอาคาร  ต้องใช้  Housing  หรือตัว  Body  ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศและน้ำฝนได้ดี  เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวกล้องวงจรปิด  

   กล้องชนิดนี้นิยมใช้ในองค์กรใหญ่ๆ โรงงานต่างๆ สถานีรถไฟฟ้าทั่วไป ห้างซุปเปอร์สโตร์ขนาดใหญ่ เช่น Big-C, Lotus เป็นต้น ราคากล้องค่อนข้างสูง มีทั้งแบบใช้ภายใน และภายนอกอาคาร

 

6.กล้องวงจรปิดแบบซ่อน  (Hidden  Camera) : จุดประสงค์หลักเพื่อซ่อนไม่ให้มองเห็นว่ามีกล้องติดตั้งอยู่จุดไหนบ้าง  บางครั้งจึงเรียกว่า  กล้องรูเข็ม  ที่มีขายตามท้องตลาดความละเอียดภาพไม่ค่อยสูงมาก  รูปแบบโครงสร้างแตกต่างกันไป  เช่น  ซ่อนอยู่ใน  Smoke  Detector  เป็นต้น สำหรับกล้องวงจรปิดทรงซ่อน  ที่มีให้เลือกใช้ในปัจจุบัน  ลักษณะส่วนใหญ่จะคล้ายกับอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ  และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อปกปิดไม่ให้ทราบว่ามีการติดตั้งกล้องวงจรปิด กล้องวงจรปิดแบบนี้ใช้สำหรับงานที่เป็นความลับและ ไม่ให้ รู้มุมกล้องว่ามีกล้องติดอยู่ กล้องซ่อนส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด เช่น กล้องรูเข็ม กล้องหลอดไฟ กล้องกระจก เป็นต้น นิยม กล้องวงจรปิด ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการความปลอดภัย หรือ ต้องการจับผิดผู้คน-พนักงาน-ลูกค้า ฯลฯ

   สถานที่ๆนิยมติดตั้ง กล้องวงจรปิดแบบแอบซ่อน คือ ร้านค้า มินิมาร์ท โรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร สำนักงาน ต่างๆ เป็นต้น

 

ต้องการความละเอียดกล้องเท่าไหร่ ?

การคำนวณหน่วยความละเอียดระบบกล้องวงจรปิดเป็นพิกเซล

 

กล้อง 1 MP

กล้อง 2 MP

กล้อง D1

กล้อง CIF


- 1536P เท่ากับ 1920 ×1536 หรือ 2,949,120 Pixels (3M Pixels Full HD)

- 1080P เท่ากับ 1920x1080 หรือ 2,073,600 Pixels (2M Pixels Full HD)

- 960P เท่ากับ 1920x960 หรือ 1,228,800 Pixels (1.3M Pixels)

- 720P เท่ากับ 1280x720  หรือ 921,600 Pixels (1M Pixels)

- 960H เท่ากับ 960x582 หรือ 558,720 Pixels

- WD1 เท่ากับ 960x576 หรือ 552,960 Pixels

- D1 เท่ากับ 720x576 หรือ 414,720 Pixels

- 4CIF เท่ากับ 704x576 หรือ 405,504 Pixels

- DCIF เท่ากับ 528x284 หรือ 149,952 Pixels

- 2CIF เท่ากับ 704x288 หรือ 202,752 Pixels

- CIF เท่ากับ 352x288 หรือ 101,376 Pixels

- QCIF เท่ากับ 176x144 หรือ 25,344 Pixels

ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งในการเลือกซื้อกล้องวงจรปิดคือ ความละเอียดของกล้องซึ่งมีผลต่อความคมชัดของภาพด้วย สำหรับเครื่องบันทึกมีผลต่อการแสดงภาพเช่นกัน นั่นคือกล้องจะชัดเจนมากเท่าไหน เครื่องบันทึกต้องรองรับด้วยเช่นกัน และต้องคำนึกถึงในส่วนความเร็วในการแสดงภาพที่ความละเอียดนั้น(Frame Rate) จำนวนภาพที่แสดงต่อวินาที ยิ่งค่ามากภาพจะดูเคลื่อนไหวลื่นไหล กลับกันกรณีค่าน้อยภาพที่แสดงผลออกมาจะหน่วง

 

ต้องการเลนส์กล้องขนาดเท่าไหร่ ?

เลนส์ (Lense) : เลนส์จะทำหน้าที่รวมแสง และปรับระยะภาพให้มีขนาดใหญ่-เล็ก ตามความเหมาะสม เลนส์บางรุ่นมีความสามารถในการหรี่รูรับแสงเพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพได้ ซึ่งเลนส์ดังกล่าวจะต้องใช้คู่กับตัวกล้องที่สามารถสั่งค่ารูรับแสงได้เท่านั้น โดยทั่วไปเลนส์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.FIX IRIS  เป็นเลนส์ที่ไม่สามารถปรับช่องรับแสงได้ควรใช้ในสถานที่ภายในอาคารที่มีแสงสว่างคงที่ตลอดเวลา

- Board Lens เป็น fix lens ชนิดหนึ่งใช้เรียกกับ กล้องวงจรปิดชนิดโดม

- CS Mount Lens เป็น fix lens ชนิดหนึ่งใช้เรียกกับ กล้องวงจรปิดมาตราฐาน

2.MANUAL IRIS เป็นเลนส์ที่สามารถปรับช่องรับแสงได้ เหมาะสำหรับงานในอาคารที่มีความสว่างในแต่ละห้องไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถปรับแสงให้เหมาะสมในแต่ละห้องได้

3.AUTO IRIS เป็นเลนส์ที่สามารถปรับช่องรับแสงได้เองโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ตกกระทบเลนส์ ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งนอกอาคารที่ความสว่างเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม

เลนส์ CCD กับเลนส์ CMOS แตกต่างกันอย่างไร ?

กล้องวงจรปิดที่ใช้ CCD จะให้ภาพที่คมชัด ดีกว่า กล้องวงจรปิดที่ใช้เลนส์ CMOS กล้องวงจรปิด ที่ใช้เลนส์ CCD ที่คุณภาพดีๆ ความคมชัดสูงส่วนใหญ่จะมีราคาสูง ส่วนกล้องวงจรปิดที่ใช้เลนส์ CMOS จะมีราคาถูก เลนส์ CCD ที่มีคุณภาพสูงได้แก่เลนส์ของ Sony CCD Sensor ส่วนเลนส์ CCD ของ SHARP หรือ ของยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่จะสู้เลนส์ CCD ของ Sony ไม่ได้ กล้องวงจรปิด ที่ใช้เลนส์ CMOS ส่วนใหญ่จะราคาถูก คุณภาพของภาพไม่ค่อยดีนัก CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD สรุปง่ายๆคือ CMOS จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสงในแต่ละพิกเซลเลย ส่วน CCD ตัวรับแสงจะรับแสงอย่างเดียว และจะส่งค่าที่ได้ออกมาให้วงจรที่มีหน้าที่แปลงสัญญาณอีกที

การเลือกใช้ขนาดของเลนส์

- เลนส์ขนาด 2 mm. เป็นเลนส์มุมกว้างมากเหมาะสำหรับติดตั้งภายในลิฟต์

- เลนส์ขนาด 3.6 mm และ 4 mm. เหมาะสำหรับต้องการเห็นบริเวณโดยรอบ เช่น ในห้องออฟฟิต

- เลนส์ขนาด 8 mm เป็นเลนส์มุมแคบ เหมาะสำหรับ ทางเดินหอพักอพาร์ทเมนต์

- เลนส์ขนาด 16 mm ขึ้นไปใช้สำหรับมองในระยะไกล หรือ ต้องการโฟกัสสิ่งของสำคัญเป็นจุดๆ

ข้อจำกัดของเลนส์(LENS)

1.เลนส์เบอร์ต่ำจะให้ภาพที่กว้างเห็นระยะใกล้ชัด ไกลไม่ชัด

2.เลนส์เบอร์ต่ำมากๆ จะให้ภาพที่กว้างมากแต่ภาพจะโค้งมากตามไปด้วย

3.เลนส์เบอร์สูงจะให้ภาพที่แคบเห็นระยะใกล้ไม่ชัด ไกลชัด

4.เลนส์มาตรฐานที่นิยมใช้กับกล้องวงจรปิดมากที่สุดคือเลนส์ 3.6 mm กับ 4 mm.

5.เลนส์กล้องวงจรปิด สามารถใช้กับกล้อง Sensor ขนาด 1/3” และ 1/4” ได้แต่ภาพที่ได้จะต่างกันเล็กน้อย

6.เลนส์แต่ละขนาด ต้องใช้ให้เหมาะสมกับหน้างาน

 

ต้องการกล้องในระบบไร้สาย หรือ เดินสาย ?

Wireless Camera (กล้องวงจรปิดในระบบไร้สาย)

ข้อดี

1. ติดตั้งง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช่ช่างผู้ชำนาญการในการติดตั้งเพราะไม่ต้องเดินสายไฟ

2. สามารถเปลี่ยนที่ติดตั้งได้ตามความสะดวกของเจ้าของบ้านได้ง่ายๆ ไม่ลำบากเหมือนแบบใช้สาย

3.ค่าใช่จ่ายในการติดตั้ง และอุปกรณ์ต่ำกว่าแบบมีสาย

4. หากกล้องมีปัญหา ก็เปลี่ยนเองได้ หรือย้ายจุดก็สะดวก ไม่ต้องใช้สาย แต่ต้องดูแต่ละจุดต้องมีสัญญาณดีพอด้วยนะครับ

 

ข้อเสีย

1. สัญญาณจะขาดหายเมื่ออินเตอร์เน็ตมีปัญหา

2. หากกล้องอยู่ห่างจุดส่งสัญญาณอาจทำให้ไม่เสถียร

3. ต้องใช้ความรู้ทาง Network ในการตั้งค่าระบบการเชื่อต่อ เพราะเป็นระบบเครือข่าย

 

Wired Camera (กล้องวงจรปิดในระบบเดินสาย)

ข้อดี

1. มีความเสถียรสูงในการส่งสัญญาณ เพราะเป็นการส่งสัญญาณผ่านสายโดยตรง

2. ไม่มีสัญญาณรบกวน  เพราะมีชั้นกันสัญญาณเพิ่มในสายอยู่แล้ว

3. สายของระบบมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี

4. การบำรุงรักษาง่าย ไม่ต้องทำบ่อยๆ เดินสายครั้งเดียวใช้ยาวๆ 

 

ข้อเสีย

1. ราคาสูง เพราะใช้สายเดินจากกล้องไปที่เครื่องบันทึกทุกจุดจำนวนกล้องเยอะก็ยิ่งแพงตามระยะด้วย

2. ต้องให้ช่างที่ชำนาญดำเนินการให้

3. ถ้าเปลี่ยนจุดติดตั้งกล้อง ต้องเสียเวลาเดินสายใหม่

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้